สอบติด รอบ1 Portfolio ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยคะแนน.....

TCAS ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
รอบแรกของระบบการคัดเลือกคือ รอบ Portfolio นั้นเอง

ข้อมูลในการเตรียมตัวยื่น Portfolio รอบแรกของระบบการคัดเลือก
เป็นรอบที่ไม่ต้องใช้คะแนน GAT/PAT เลยยยยย


Portfolio และหลายๆ โครงการของคณะ/มหาลัยที่เปิดรับ
ก็มักจะเป็นพวกความสามารถพิเศษทางวิชาการ
เช่นความถนัดด้านภาษาอังกฤษ
ซึ่งต้องยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษด้วย
เช่น IELTS/TOEFL/TOEIC/CU-TEP/TU-GET/SAT/BMAT 

อีกทั้งยังมีเวลาในการเตรียมตัวก่อนเข้ามหาวิทยาลัยได้นาน  
ถ้าอยากติดรอบนี้ ขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติให้ดีก่อนสมัคร  
เพราะรอบนี้ไม่มีการสอบ 
จึงทำให้ทางคณะต้องเข้มงวดในเกณฑ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง 


การเตรียมตัวยื่นเอกสารประกอบการสมัคร
สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นสมัคร 

1.ใบผลการเรียน (ปพ.1)
2.ใบผลคะแนนภาษาอังกฤษ 
3.เอกสารสรุปรายชื่อกิจกรรมที่เข้าร่วม 
4.หนังสือแสดงเหตุผลและวัตถุประสงค์
การสมัครเข้าศึกษา (Statement of Purpose) 


     การทำเกรดให้ดียังถือเป็นสิ่งสำคัญ 
แต่น้องๆบางคนอาจรู้สึกไม่ยุติธรรม ที่เกรดแต่ละโรงเรียนนั้นเกณฑ์อาจไม่เท่ากัน

การที่แต่ละคนจะได้เกรดดีๆนั้น ถือเป็นความพยายามรับผิดชอบ
ไม่ว่าจะเป็นการเก็บคะแนนการสอบ การทำกิจกรรม ต่างๆ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอบ Portfolio ที่ไม่มีการสอบ 
เกรดก็ถือเป็นในตัวชี้วัดได้ว่า เรามีประสิทธิภาพในการเรียนแค่ไหน
และทำให้รู้ว่า ตัวน้องๆเองนั้น พร้อมสำหรับชีวิตการเรียนในมหาวิทยาลัยหรือยัง
เพราะต้องใช้ความรับผิดชอบและความตั้งใจสูง ถึงจะผ่านไปได้

ใบผลคะแนนภาษาอังกฤษ 
ที่นิยมเลือกใช้ยื่นกัน  (ผลสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี) 
1.TU-GET 
2.TOFEL iBT (Internet Based Test) 
3.IELTS 
4.TOEIC
5.CU-TEP
6.SAT
7.BMAT

น้องๆควรศึกษามหาวิทยาลัยที่รับ และคะแนนขั้นต่ำที่ใช้ยื่น
ซึ่งจะอยู่ในกำหนดการของมหาวิทยาลัยนั้นๆ 

ผลคะแนนสอบ ที่สามารถใช้ยื่น รอบ1 Portfolio
(ผลสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี)

รวมมหาวิทยาลัยในไทยที่มีหลักสูตร INTER 
>> https://www.admissionpremium.com/intereng/news/4276


เตรียมตัวสอบ เพื่อเก็บคะแนน ได้แล้วที่>>  https://www.boostup.in.th/inter



TOEFL iBT 
จะทดสอบทักษะภาษาอังกฤษบนคอมพิวเตอร์ 
แบ่งเป็นทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่
1. Reading (การอ่าน): มีคำถามทั้งหมด 36-70 ข้อ
ให้เวลาในการทำข้อสอบ 60-100 นาที
-ข้อสอบแบ่งเป็น 3 บทความ ซึ่งแต่ละบทความ จะมีคำถามแบบปรนัยจำนวน 12-14 คำถาม

2. Listening (การฟัง): มีคำถามทั้งหมด 34-51ข้อ ให้เวลาในการทำข้อสอบ 60-90 นาที
-ข้อสอบแบ่งเป็น 6 บทสนทนาซึ่งแต่ละบทสนทนา จะมีคำถามแบบปรนัย จำนวน 5-6 คำถาม

3. Speaking (การพูด): มีคำถามปลายเปิดทั้งหมด 6 ข้อ ให้เวลาในการทำข้อสอบ 20 นาที
- 2 คำถามแรกผู้สอบจะต้องตอบทันที โดยแต่ละคำถามมีเวลา 45 วินาที
- 2คำถามต่อมา จะเป็นการตอบ คำถามจากการอ่านบทความสั้นๆ 
  แล้วฟังบทสนทนาที่เกี่ยวข้อง  มีเวลาในการพูด 1นาทีต่อ 1 คำถาม
- 2คำถามสุดท้าย จะเป็นการฟัง บทสนทนาก่อนตอบคำถาม 
  มีเวลาในการพูด 1นาทีต่อ 1คำถาม

4. Writing (การเขียน): มีคำถามทั้งหมด 2 ข้อให้เวลาในการทำข้อสอบ50 นาที
- ข้อสอบแบ่งเป็นการเขียน เรียงความ 2 หัวข้อ
- หัวข้อแรกผู้สอบต้องอ่าน บทความและฟังบทสนทนา เกี่ยวกับบทความนั้น 
  แล้วเขียนเรียงความ 2ย่อ หน้าภายใน 20 นาที
- หัวข้อที่สองจะเป็นการ เขียนเรียงความตาม หัวข้อที่กำหนดมีเวลา 30นาที

รวมทั้งหมดผู้สอบจะมีเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่งในการสอบ
และสามารถสอบได้เพียงเดือนละหนึ่งครั้งเท่านั้น
สำหรับผู้ที่สนใจสมัครสอบ TOEFL แบบ iBT สามารถสมัครสอบออนไลน์ได้เลย 24 ชั่วโมง 
ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ 195 $ หรือประมาณ 6,000 บาท (ขึ้นอยู่กับค่าเงินในตอนนั้น)
และข้อสอบจะมีอายุ 2 ปีนับตั้งแต่วันที่สอบ

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก






TOEIC 
(Test of English for International Communication)
เป็นข้อสอบที่ทำขึ้นมาเพื่อวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษโดยทั่วไป 
TOEIC มักเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่องค์กร และบริษัทชั้นนำต้องการอีกด้วย 

ปัจจุบัน การสอบ TOEIC มี 2 แบบ คือ 
1.TOEIC Listening and Reading Test (การฟังและการอ่าน) และ 
2. TOEIC Speaking and Writing Tests (การพูดและการฟัง)
ซึ่งยังไม่มีในประเทศไทย ยังคงเป็น  ข้อสอบการฟังและการอ่านเท่านั้น 

แต่มีการนำมาปรับใหม่ ดังนี้
1.การฟัง (Listening Comprehension) 
มี 100 ข้อ คะแนนเต็ม 495 คะแนน เวลา 45 นาที 
ผู้เข้าสอบจะได้ฟังคำถาม  ละการสนทนาสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษ 
แล้วตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ยิน

โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย ดังนี้
1.1 Part 1: Photographs 10 ข้อ 
      Part 2: Question-Response 30 ข้อ 
      Part 3: Conversations 30 ข้อ 
1.2 Part 4: Short Talks 30 ข้อ 

2.การอ่าน (Reading Comprehension) 
มี 100 ข้อ คะแนนเต็ม 495 คะแนน เวลา 75 นาที ผู้เข้าสอบจะต้อง
ตอบคำถามจากสิ่งที่อ่าน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ดังนี้
2.1 Part 5: Incomplete Sentences 40 ข้อ 

Part 6: Text Completion 12 ข้อ 
2.2 Part 7: Reading Comprehension 48 ข้อ
เวลาในการสอบทั้งหมดคือ 2 ชั่วโมง และค่าสอบ 1,500 บาทเท่าเดิม**


ข้อมูลเพิ่มเติม  คลิก

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก

ข้อมูลเพิ่มเติม​ คลิก



IELTS  (International English Language Testing System) 
เป็นข้อสอบเกี่ยวกับความสามารถทางภาษาอังกฤษ สำหรับผู้สมัครที่ต้องการเรียนต่อหรือเข้าทำงาน

คะแนน IELTS ใช้สำหรับอะไรได้บ้าง ปัจจุบันคะแนน IELTS เป็นที่ยอมรับ
สำหรับใช้สมัครงานกับบริษัท  มากกว่า 10,000 แห่งทั่วโลก 
(เน้นไปทางบริษัทข้ามชาติที่มาจากยุโรป) ที่สำคัญ IELTS ใช้สำหรับศึกษาต่อ
ในประเทศฝั่งยุโรป เช่น อังกฤษ  เยอรมัน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ 
หรือออสเตรเลีย โดยเกณฑ์ การยื่นคะแนน IELTS นั้นยังไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์ที่ตายตัว 
ขึ้นอยู่กับการกำหนดจากมหาวิทยาลัย  หรือบริษัทนั้นๆ เป็นคนกำหนด
 
คะแนน IELTS ที่ถือว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เกณฑ์คือ 5.5 หรือ 6.5 ขึ้นไป
(ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาหรือแต่ละบริษัท) มหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์ในประเทศไทย
หลายแห่งก็มีการใช้คะแนน IELTS เป็นมาตรฐานสำหรับ
การเข้าเรียนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น  มหาวิทยาลัยมหิดลอินเตอร์ (MUIC), 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
 
คะแนน IELTS ถือว่าเป็นคะแนนที่ได้รับการ
รับรองมาตรฐานสำหรับผู้สอบว่ามีความ สามารถทางภาษาอังกฤษจริงๆ 
เพราะผู้เข้าสอบต้องใช้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ครบทุกด้าน และมีการลงลึกมากกว่า
การสอบ TOEIC เรียกได้ว่าหาก Grammar หรือคำศัพท์ผิด คะแนนก็ลดไปเกือบหมดเลย
และมหาวิทยาลัยในไทยเองก็มีการเลือกสอบ IELTS เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นทางเลือก
ที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจทดสอบทักษะภาษาอังกฤษของตนเอง และผู้ที่ต้องการเรียนต่อหรือสมัครงานเช่นกัน
 
IELTS on Computer : 7,500 บาท
IELTS Academic หรือ General Training : 6,900 บาท
สำหรับผู้ที่สนใจเรียนต่อปริญญาตรี ขึ้นไปในสหราชอาณาจักร
เพื่อวัดว่าทักษะ ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเราเพียงพอที่จะใช้ศึกษาต่อหรือไม่
IELTS for UKVI : 9,009 บาท สำหรับยื่นใบสมัครขอวีซ่า เพื่อย้ายไปอยู่ประเทศอังกฤษ
IELTS Life Skills A1 และ B1 : 6,757 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก
ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก
ข้อมูลเพิ่มเติม  คลิก








SAT ( Scholastic Aptitude Test )  เป็นการสอบมาตรฐานความถนัดในการเรียน grade12 = ม.6
การสอบSAT  สามารถใช้สอบเข้าต่อทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

SAT เป็นข้อสอบมาตรฐาน ที่วัดทักษะด้าน verbal และ mathematical reasoning
มีความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญา 
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆจะอ้างอิงถึงผล SAT ในการพิจารณา
รับนักศึกษา นอกจากนี้ อาจจะใช้ผลสอบ SATใน1ปีจะมีการสอบ 4 ครั้ง
คือในเดือนมีนาคม พฤษภาคม ตุลาคม และธันวาคม

-เป็นการวัดระดับภาษาอังกฤษมาตรฐานระดับโลก จากสหรัฐอเมริกาที่น้องๆ สายอินเตอร์จะพลาดไม่ได้
เพราะสามารถใช้ยื่นได้ทุกมหาวิทยาลัยในไทย และทั่วโลก!! 
-ที่สำคัญคือสามารถสอบล่วงหน้าได้ตั้งแต่ ม.5 เพราะคะแนน
เก็บได้ 2 ปี!
-แถมยังสามารถใช้ยื่นได้ตั้งแต่ TCAS รอบ1(PORTFOLIO)อีกด้วย
-หลายหลักสูตรพิจารณาจากคะแนน SAT เพียงอย่างเดียว
เช่น BBA CHULA, BBA TU,BE TU, EBA CHULA, BBA KU, EBA KU, BALAC CHULA, 
COMARTS CHULA,LL.B. TU, MUIC (บางหลักสูตร)
-ข้อสอบมี 2ชุดใหญ่ๆ คือ ส่วน MATH และส่วน ENG 
(ชื่อเต็มคือ EVIDENCE-BASEDREADING ANDWRITING) 

-คะแนนเต็มวิชาละ 800 รวมเป็น 1,600 คะแนน
-หากได้เกิน 1,350 ก็เดินเข้ามหาวิทยาลัยได้สบายๆ เลย
-พาร์ท MATH ไม่ได้ยากเหมือน PAT1
-ทั้งนี้การสอบ SAT สามารถสอบได้ในศูนย์สอบในไทย (เต็มไวมากต้องรีบสมัคร) 
-จัดสอบหลายครั้งต่อปี (มีนาคม, พฤษภาคม, ตุลาคม, ธันวาคม)

สอบ SAT ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?
SAT มีการจัดการสอบในหลายประเทศ ซึ่งจะใช้ข้อสอบ
ชุดเดียวกันและสอบในเวลาเดียวกันทั่วโลก
SAT ไม่จำกัดอายุของผู้เข้าสอบ แต่จำกัดอายุของผลคะแนนสอบ
ให้มีอายุใช้งานได้ 2 ปี นับตั้งแต่
วันที่เข้าไปยื่นและสามารสอบได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

ถ้าสอบ SAT แล้วเอาคะแนนไปยื่นที่ จุฬาฯ ก็มีรับ
คะแนน SAT ด้วยการสอบ SAT ไม่มีการกำหนดอายุผู้สอบและเก็บผลไว้ได้ถึง2 ปี 
ดังนั้นน้องๆ หลายๆ คน จึงเริ่มเตรียมตัวสอบ SAT ตั้งแต่อยู่ม. 4 (หรือประมาณGrade/Year 10)

SATมีหลายวิชา
SAT I (Reasoning test) มี Math และ English (writing + reading)
SAT II (Subject test) มีหลายวิชา แล้วแต่คณะที่ต้องการเข้าและสามารถใช้ได้
หลากหลายกว่า ทั้งในประเทศและนอกประเทศเดี๋ยวนี้มหาลัย
ส่วนใหญ่ในระบบนานาชาติ ใช้ผล SAT เป็นตัวคัดเลือก

สถานที่สอบ SAT สามารถสมัครสอบผ่านเว็บไซต์   
ต้องดูจาก www.collegeboard.com  
ซึ่งสถานที่สอบส่วนใหญ่จะเป็นที่โรงเรียนอินเตอร์   โรงเรียนนานาชาติที่ได้การ ยอมรับให้เป็นสถานที่สอบ 
เช่นในกรุงเทพฯก็ NIST,RIS เป็นต้น


ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก



หลายคนสงสัย ว่าการสอบ BMAT นั้นคืออะไร BMAT คือการสอบเฉพาะทางสำหรับ
ผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในสาขาการแพทย์

จัดทำโดย Cambridge Assessment Admissions Testing
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์


และสำหรับน้องๆ #dek63 ที่จะสมัครเรียนต่อคณะแพทยศาสตร์ หรือคณะทันตแพทยศาสตร์ 
ตามรายชื่อมหาวิทยาลัยด้านล่างนี้ น้องๆต้องมีผลคะแนนสอบ BMAT
เพื่อนำไปใช้ประกอบการยื่นสมัครสอบ
สามารถเลือกสอบ BMAT วันใดวันหนึ่ง ใน เดือนสิงหาคม หรือ เดือนตุลาคม

วันสอบทั้งสองรอบ มีรูปแบบการสอบ และวิธีการให้คะแนนเหมือนกันค่ะ

น้องๆสามารถสอบ BMAT ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต่อหนึ่งรอบการสอบแอดมิชชั่น

การสอบในเดือนสิงหาคม : น้องต้องลงทะเบียนด้วยตนเอง
เปิดให้ลงทะเบียนสอบตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน และต้องลงทะเบียนด้วยตัวเองที่  www.metritests.com

(หลังจากเปิดหน้าเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว กรุณาคลิ๊กที่ตัวเลือก Shop ที่ปรากฏอยู่ด้านบนของหน้าเว็บไซต์)
การสอบในเดือนตุลาคม : ศูนย์สอบจะเป็นผู้ลงทะเบียนให้น้อง 
สอบถามเจ้าหน้าที่ศูนย์สอบ เพื่อทำการลงทะเบียนสอบ
และอย่าลืมสอบถามเลขที่ผู้สมัครสอบของน้อง เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทะเบียนสอบนั้น
ได้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนนะคะ

และน้องจะต้องมาสอบกับศูนย์ที่ได้มีการขึ้นทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น


การสอบ BMAT ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 ความถนัด และทักษะ 60 นาที (ข้อสอบปรนัย)
ทักษะทั่วไปในการแก้ปัญหา ทำความเข้าใจข้อโต้แย้ง การวิเคราะห์ข้อมูล และการหาข้อสรุป

ส่วนที่ 2 ความรู้และการประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์ 30 นาที (ข้อสอบปรนัย)
ความสามารถในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้ 

ส่วนที่ 3 สอบเขียนบรรยาย 30 นาที (ข้อสอบบรรยาย)
รู้จักเลือก พัฒนา และจัดการแนวคิด ทั้งยังสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการเขียนและนำเสนอแนวคิดได้อย่างชัดเจน และกระชับได้ใจความ

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก




TU-GET   เป็นการวัดระดับภาษาอังกฤษ
ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่น้องๆ ทั้งภาคไทย สายอินเตอร์ 
และระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำเป็นจะต้องใช้ 

-ที่สำคัญคือสามารถสอบล่วงหน้า
ได้ตั้งแต่ ม.5 เพราะคะแนนเก็บได้ 2 ปี 
- แถมยังสามารถใช้ยื่นได้ตั้งแต่ TCAS รอบ 1 (PORTFOLIO) อีกด้วย 
(หลายหลักสูตรพิจารณา TU-GET เพียงอย่างเดียว เช่น 
คณะนิติศาสตร์ (ภาคไทย) 
รับราว 100 คน จากคะแนน TU-GET 
หรือการใช้ยื่นในแทบทุก
หลักสูตรนานาชาติของธรรมศาสตร์

แนวข้อสอบ TU-GET ไม่ได้ลึกลับเหมือนกับ ข้อสอบ TOEFLแถมยังมีหนังสือให้อ่าน 
ถ้าเทียบกับ CU-TEP ความยากนั้นพอๆ กัน
ข้อสอบ TU-GET มี 100 ข้อ 1,000 คะแนน 
- ควรทำคะแนนได้เกิน 550 (แต่ให้ดีควรเกิน 700)
1 Paper-Based Test (PBT)
- ข้อสอบกระดาษ
- มีแต่ choices อย่างเดียว
- 100 ข้อ 1,000 คะแนน
มี 3 พาร์ท คือ
 - Reading (50) 
- Vocab (25) 
- Structure (25)
ค่าสอบ 500 / 700 บาท  สอบทุกอาทิตย์สิ้นเดือน

2 Computer-Based Test (CBT)
- สอบกับคอมพิวเตอร์
- มีสอบครบทุก skill
- 120 ข้อ 120 คะแนน
มี 4 พาร์ท คือ 
- Reading (40) - Listening (40) 
- Speaking (1) - Writing (1)
- ค่าสอบ 1,500 บาท
สอบทุกอาทิตย์กลางเดือนn  ผลคะแนนเทียบเท่า TOEFL (มีระบุไว้ในผลคะแนนเลย)

สนใจเพิ่มเติม มีคะแนน TU GET สอบติดง่าย ๆ ได้แต่ เนิ่น ๆ คลิก
รู้ยัง TU-GET 2019 !!! มี 2 แบบให้เลือกสอบแล้วนะ  คลิก

สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ TU-GET Paper-based Test (PBT) (Thammasat University General English Test)
การจัดสอบ สำหรับปี 2562 มี 12 ช่วงคือ
 
http://litu.tu.ac.th/2019/assets/public/kcfinder/upload/public/cbt%20pbt/001.pdf
 
 
สมัครสอบออนไลน์ที่ : http://litu.tu.ac.th/TUGET/Login.aspx
สมัครวันที่ 1-15 ของเดือน ค่าสมัครสอบ 500.-บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) l สมัครวันที่ 16 ถึงวันที่สอบ ค่าสมัครสอบ 700.-บาท (เจ็ดร้อยบาทถ้วน) จ่ายค่าสมัครสอบด้วยตนเอง ที่ห้อง TU-GET ชั้น 1 อาคารสถาบันภาษา มธ. ท่าพระจันทร์





     ข้อสอบ CU-TEP เป็นข้อสอบที่นิสิตจุฬาฯ ต้องสอบทุกคน เพราะต้องได้ 30 คะแนนขึ้นไป
ไม่เช่นนั้นจะต้องไปเก็บชั่วโมงเรียนภาษาเพิ่มเติมที่สถาบันภาษาฯ

นอกจากนั้น หลาย ๆ หลักสูตรก็ใช้คะแนน CU-TEP ยื่น เช่น หลักสูตรนานาชาติ
รวมไปถึงระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท/ป.เอก) ก็ใช้คะแนนนี้เช่นเดียวกัน 


ข้อสอบ CU-TEP มี 3 ส่วน โดยผู้คุมสอบจะแจกข้อสอบให้ทำทีละส่วน
รวมทั้งหมด 120 ข้อ ใช้เวลาทั้งหมด 130 นาที
ส่วนที่ 1 : Listening ทักษะการฟัง มี 30 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที
 
เป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารในชั้นเรียน โดยเฉพาะโปรแกรมภาคภาษาอังกฤษหรือหลักสูตรนานาชาติ ในการทดสอบส่วนนี้ ข้อสอบจะให้ผู้สอบฟัง
การบรรยายบทความทางวิชาการ (Monolog) ยาวประมาณ 5 – 7นาที,
การพูดคุยสนทนาระหว่างบุคคลในเหตุการณ์สั้นๆ (Short dialog)
และการสนทนาแบบยาว (Long dialog) โดยข้อสอบจะให้ผู้ฟัง ฟังบทสนทนา
หรือการบรรยายเพียง 1 รอบ จากนั้นจะตอบคำถามของบทสนทนา
หรือการบรรยายเป็นชุดๆ โดยคำถามจะเป็นการบอกทีละคำถาม
และจะบอกคำถามเพียง 1  ครั้งเท่านั้น ผู้ฟังจะต้องสามารถฟังและจับใจความสำคัญ
ของการสนทนาหรือบทความนั้นๆได้ เพื่อนำใปใช้ตอบคำถาม
 
ส่วนที่ 2 : Reading ทักษะการอ่าน มี 60 ข้อ ใช้เวลา 70 นาที
 
เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะศึกษาต่อ โดยในสมัยนี้ตำราเรียนส่วนใหญ่
จะใช้ Text Book ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ การสอบในส่วนนี้จะเน้นการอ่านจับใจความ
ของเรื่องโดยรวมทั้ง Short text และ Long text โดยส่วนของข้อสอบโจทย์จะให้บทความยาวประมาณ 400 – 700 คำ จำนวน 7 – 8 บทความ ให้ผู้สอบอ่านจับใจความ
และนำไปตอบคำถาม 6 – 7 ข้อ โดยคำถามจะถามทั้งในส่วนของเนื้อหาสาระ
ใจความสำคัญ หาความหมายของคำศัพท์โดยดูจากส่วนขยาย
ความรู้สึกของผู้แต่ง บทสรุปและ Cloze reading
 
 
ส่วนที่ 3 : Writing ทักษะการเขียน มี 30 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที
 
ข้อสอบจะเน้นความรู้ทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สอบ
ทั้งในส่วนของไวยากรณ์และคำศัพท์ มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
แบบที่ ERROR IDENTIFICATION มีข้อความพร้อมทั้งขีดเส้นใต้คำบางคำ
ในประโยค เพื่อให้ผู้สอบหาจุดผิดจากคำที่ขีดเส้นใต้นั้นๆ
แบบที่ SENTENCE COMPLETION ข้อสอบจะให้ประโยคข้อความมา
พร้อมเว้นช่องว่างไว้ในประโยค เพื่อให้ผู้สอบหาข้อความ วลี หรือประโยค
ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์เติมลงในช่องว่าง

อ่านเพิ่ม คลิก


เตรียมตัวสอบ เพื่อเก็บคะแนน ได้แล้วที่>>  https://www.boostup.in.th/inter