เตรียมพร้อม เคมี 9 วิชาสามัญ 62 อ.ไมธ์ น้อง ๆ จะลงสนามโดยไม่แม่นเรื่องเหล่านี้ไม่ได้

เตรียมพร้อม เคมี 9 วิชาสามัญ 62 

โดย... 
อ.ไมธ์ 


 

น้อง ๆ จะลงสนามโดยไม่แม่นเรื่องเหล่านี้ไม่ได้

 ไปดูกันค่ะ
.
.

 



เนื้อหา ม.เทอม 

 1. การหาจำนวนอิเล็กตรอนเดี่ยวในออร์บิทัล และการจัดเรียงอิเล็กตรอนเมื่อเลขอะตอมเกิน 100 

2. การเปรียบเทียบพลังงาน ความยาวคลื่น ความถี่ ของสเปคตรัม

 3. สมบัติเด่นของธาตุหมู่ 1A 

4. สมบัติในการเป็นอะตอมกลางในไอออนเชิงซ้อนของแทรนซิชัน 

5. การเกิดสีและการเปลี่ยนสีของสารประกอบเชิงซ้อน 

6. ความหนาแน่นเปรียบเทียบระหว่างโลหะหมู่ 1, 2A และ โลหะแทรนซิชัน ในคาบเดียวกัน 

7. ค่า EN (F > O > Cl > N > Br > I > S) 

   และ การทดลองแสดงความสามารถในการเป็นตัวออกซิไดส์ของแฮโลเจน จำสีของแฮโลเจนด้วย 

8. ธาตุใหม่ 3 ธาตุ ที่เติมเต็มตารางธาตุ

9. การคำนวณครึ่งชีวิต (และความอึดในการคิดเลข) 

10. รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ มุมพันธะ และเรโซแนนซ์

  (จำตัวเลขมุมพันธะเฉพาะที่เป็นแม่แบบ ที่เหลือใช้เรื่องแรงเปรียบเทียบ)

11. การเกิดพันธะไฮโดรเจน และอิทธิพลต่อจุดเดือดระหว่างสภาพขั้วโมเลกุลของสาร

12. การแสดงพลังงานในการเกิดสารไอออนิก (แผนภาพบอร์น-ฮาเบอร์) 

13. การเขียนสมการไอออนิก ต้องแม่นเรื่องตะกอน และสังเกตการแตกตัวเป็นไอออนของสารที่ละลายน้ำได้ 

14. การคิดพลังงานของปฏิกิริยาจากพลังงานพันธะ  
  

 ม.4 เทอม 2
1. การคิดมวลอะตอมเฉลี่ย
2. คิดโมลอะตอม โมลไอออน จากโมลโมเลกุล
3. เปลี่ยนหน่วยความเข้มข้นสารละลาย
4. คิดความเข้มข้นรวมเมื่อผสมสารละลายที่มีบางไอออนเหมือนกัน
5. การหาจุดเยือกแข็ง และจุดเดือดของสารละลาย
6. การหาสูตรเอมพิริคัลและสูตรโมเลกุล (และความอึดในการคิดเลข)
7. การหาตัวหมดในปฏิกิริยาเคมี
8. รวมสมการเคมีที่มีตัวเชื่อมระหว่างสมการ
9. คำนวณสมการเคมี 2 สมการ ที่มีสารซ้ำกันอยู่ (และเทคนิคการแก้สมการคณิตศาสตร์)
10. คิดร้อยละผลที่ได้
11. ปฏิกิริยาเคมีของแก๊ส (แก๊ส1 + แก๊ส2  ⟶    แก๊ส3)
12. สมการสภาวะของแก๊สอุดมคติ
13. กฎของแก๊ส (ต้องรู้ 3 อย่าง = ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร, สูตรที่ใช้คำนวณ
และกราฟเตรียมกราฟความสัมพันธ์ และกราฟของสูตรไปด้วย โดยมากโจทย์ชอบถามการจัดตัวแปรให้ได้กราฟเส้นตรง)
14. ความหนาแน่นของแก๊สอุดมคติ
15. การแพร่ และการแพร่ผ่าน
16. ความดันย่อย
17. คุณสมบัติที่แตกต่างโดยเฉพาะการนำไฟฟ้าของของผลึกโลหะ ผลึกไอออนิก ผลึกโมเลกุล ผลึกโคเวเลนต์ (อันตรายมากถ้ายังแยกผลึกแต่ละแบบไม่ออก)
18. การเดือด จุดเดือดปกติ จุดเดือดที่ความดันบรรยากาศอื่น ๆ ของของเหลว
19. ความสัมพันธ์ของความดันไอกับอุณหภูมิ
20. ความแตกต่างระหว่างอัตราการระเหย และความดันไอ
21. แรงเชื่อมแน่น แรงยึดติด

 

 

ม.5 เทอม 1
1. คิดอัตราการเกิดปฏิกิริยาของสาร, อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของทั้งระบบ
2. กราฟการเกิดปฏิกิริยา (กราฟ Rate law, กราฟพลังงาน, กราฟผลการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น)
3. สารเชิงซ้อนกัมมันต์ สารมัธยันตร์
4. สิ่งที่ส่งผลให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้น และ ช้าลง (ระวังอุณหภูมิในเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อนหรือคายความร้อนให้ผลไม่ต่างกัน , ตัวเร่งปฏิกิริยากับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานบางอย่าง และไม่เปลี่ยนพลังงานบางอย่าง)
5. แผนภาพแมกซ์เวล โบลซ์มาน
6. การคิดค่าคงที่สมดุล
7. เมื่อสมการเคมีเปลี่ยนแปลง ค่าคงที่สมดุลจะเปลี่ยนตามอย่างไร
8. อุณหภูมิที่ส่งผลต่อค่าคงที่สมดุล (ระวังในเรื่องสมดุลเคมีอุณหภูมิมีผลต่อปฏิกิริยาดูดความร้อน- คายความร้อน ต่างกัน)
9. ตัวเลขค่าคงที่สมดุลการละลายบอกอะไรกับการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยอื่นที่มีผล (และหลอกให้คิดไปเอง)
10. การปรับตัวของสมดุลเมื่อถูกรบกวนและสถานะที่เกี่ยวข้อง (และที่ไม่เกี่ยวมาเป็นตัวหลอก)
11. นิยามกรด เบส และคู่กรด-คู่เบส
12. การคิดค่าร้อยละในการแตกตัวของกรดอ่อน เบสอ่อน  (สารละลายเจือจางให้ร้อยละการแตกตัวมากขึ้นได้อย่างไร)
13. การคิดค่า pH ของสารละลายเกลือกรด เกลือเบส และเทคนิคการคิดค่า log
14. การไทเทรตที่จุดสมมูล คำนวณปริมาณสารทุกสารที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ และกราฟไทเทรต
15. การเกิดสารละลายบัฟเฟอร์
16. การคิดค่า pH ของสารละลายบัฟเฟอร์
 
 
ม.5 เทอม 2
1. เลขออกซิเดชัน
2. การดุลสมการรีดอกซ์แบบครึ่งเซลล์ (เริ่มจากในสารละลายกรด และปรับให้เป็นแบบในเบสโดยไม่ต้องทำใหม่)
3. เซลล์เชื้อเพลิง การเกิด H2O ในเซลล์เชื้อเพลิง การเคลื่อนที่ของไอออนในสารอิเล็กโตรไลต์
4. การคิดค่า E0
5. การแยกสารละลายด้วยไฟฟ้า
6. การป้องกันการถูกกัดกร่อนของโลหะ การชุบโลหะ
7. เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว
8. ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์แก้วแบบต่าง ๆ
9. การปรับปรุงคุณภาพพลอยทั้งแบบชั่วคราว และถาวร
10. แยกความแตกต่างของเพชรแท้ เพชรสังเคราะห์ เพชรเทียม
11. กระบวนการผลิตปุ๋ยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ก๊าซธรรมชาติ
12. การแยกโลหะแบบใช้ตัวทำละลาย ความร้อน และปฏิกิริยารีดอกซ์ 





ม.6 เทอม 1+2
1. ผลที่แตกต่างเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีเดียวกันของ แอลเคน แอลคีน แอลไคน์
2. ปฏิกิริยาลูกโซ่ของแอลเคน
3. แอลไคน์ที่เกิดปฏิกิริยากับ KMnO4 แล้วให้ผลเป็น CO2
4. การเกิดปฏิกิริยาที่ต่างกันของกรดคาร์บอกซิลิก และเอสเทอร์ เพื่อแยกไอโซเมอร์

หัวข้อ 1 – 4 น้อง ๆ ต้องเขียนสมการเคมีได้ด้วย

5. จุดเดือดเปรียบเทียบระหว่าง เอไมด์ และเอมีน ชนิดต่าง ๆ
6. ผลของการเกิดไอโซเมอร์แบบโครงสร้าง เช่น แอลกอฮอล์กับอีเทอร์ และแบบเรขาคณิต
7. การเกิดพันธะไฮโดรเจนของสารอินทรีย์บางชนิด
8. การทดสอบสารชีวโมเลกุล
9. การแปลงสภาพโปรตีน
10. แรงที่เกิดในโครงสร้างของโปรตีน พอลิแซคคาไรด์ กรดนิวคลิอิก
11. องค์ประกอบที่แตกต่างระหว่าง DNA และ RNA
12. การเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพของเอนไซม์ทั้งก่อนและหลังเกิดการแปลงสภาพ
13. การเหม็นหืน
 
14. การเกิดปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอร์ริฟิเคชันในการผลิตไบโอดีเซล
15. การคิดค่าออกเทน และสารที่ใช้เพิ่มค่าออกเทน
16. โครงสร้างพอลิเมอร์ที่มีผลต่อสมบัติของพลาสติก
17. เส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยกึ่งสังเคราะห์
18. ปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชัน แพลงก์ตอนบลูม และค่า O2 ในน้ำ 







แนะนำน้องๆ และผู้ช่วยที่จะทำให้น้องสอบติด
โครงการ “TCAS ติวบุฟเฟต์ ” 




สมัครเลยที่ www.Boostup.in.th/buffet
มากกว่า 300 ชั่วโมง 
คอร์สตะลุยโจทย์ข้อสอบ + พร้อมเนื้อหาเทคนิค
+มากกว่า 100 คอร์ส


เรียนไม่อั้น...ที่เดียวจบ ครบทุกวิชา

น้อง ๆ สามารถเรียนกี่รอบก็ได้ 
ดูได้ไม่จำกัดจนกว่าจะหมดอายุ 
ตามแพ็กเกจที่เลือก

ดูคอร์สบุฟเฟต์ทั้งหมดที่ 
https://www.boostup.in.th/buffet
ช้าหมด อดไม่รู้ด้วยนะคะ