อ่านอะไรดีในวิชาเฉพาะ (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์)



          พี่เชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้มีความตั้งใจที่จะเข้าคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นศูนย์รังสิตหรือศูนย์ลำปางที่มีหลักสูตรเดียวกันแต่อาจแตกต่างด้วยสภาพแวดล้อม บริบททางวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลายและแตกต่างอยู่เล็กน้อย แต่พี่มั่นใจว่าในทุกที่ที่เปิดในหลักสูตรนี้ล้วนมีความเต็มที่ต่อการจัดการการศึกษาเพื่อให้เกิดโอกาสและการต่อยอดตามศักยภาพและความสนใจระหว่างกันโดยเชื่อว่า การเตรียมความพร้อมสำหรับแต่ละคนนั้นได้วางแผนและออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นระหว่างกันแล้วเราอาจมองได้ในหลายมุมที่สามารถมองได้ทั้งในแง่ของการพิทักษ์สิทธิ์ ความเท่าเทียม ความน่าสงสาร และ ความเห็นใจ โดยทั้งนี้ก็ขึ้นกับบริบทในสถานการณ์ต่างๆที่มีการเรียนรู้ทั้งในตัวกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน และ องค์กร ที่แต่ละส่วนล้วนมีความแตกต่างที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้คนโดยภาพรวมหรือไม่หรือเป็นเพียง “ฉาก” หนึ่งที่มีการวางแผน ลงมือทำ และ การวางโครงสร้างต่างๆที่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งเหล่านั้นจะมีความหมายที่ไม่ใช่แค่การทำให้ผ่านพ้นไป แต่เป็นสิ่งที่สามารถตอบสนองและให้โอกาสระหว่างบนพื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่หลากหลายกันไป



          อย่างที่ทราบกันว่าคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีการเปิดรับนักศึกษาในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็น แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โครงการต่างๆ (รอบโควตา) รวมถึงการสอบวิชาเฉพาะที่เป็นการสอบวัดความรู้ความสามารถในสิ่งที่เป็น “ความรู้เบื้องต้น” เกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ แต่ทั้งนี้หลายคนอาจจะกังวลใจว่า การสอบแบบนี้จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง พี่จะขอขยายความให้เข้าใจและเป็นการต่อยอดสำหรับน้องที่สนใจในส่วนนี้


          จากความเข้าใจเดิมของใครหลายคนอาจคิดว่า “การสอบวิชาเฉพาะเป็นการสอบที่มีความละเอียดและเจาะลึกในสิ่งที่เฉพาะทางและมีความยาก” พี่อยากบอกว่า น้องเข้าใจไม่ผิด แต่ก็อยากให้ทุกคนลองมองดูว่า ในการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ศาสตร์นั้นเป็นการเรียนในลักษณะเชิงบูรณาการที่มีศิลปะในการทำงานกับคนที่ไม่ใช่แค่การช่วยเหลือ การเจรจาต่อรอง รวมถึง การตัดสินใจที่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ทรัพยากรที่มีอยู่ และ ความชัดเจนตามกระบวนการที่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะสุดท้ายแล้วการสอบวิชาเฉพาะนั้นเป็นเพียง “ใบเบิกทาง” ในเบื้องต้นที่แต่ละคนต้องวางแผน เตรียมความพร้อม และ รับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วการเรียนด้านนี้สามารถที่จะทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นได้ตามรูปแบบงานและความจำเป็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น



          สมัยที่พี่สอบรับตรง ( ณ ตอนนั้นคือการสอบข้อสอบอย่างเดียวพร้อมกับเกรดเฉลี่ย) สิ่งที่พบเห็นคือ การสอบแบบผสมผสานที่มีความรู้ทั้งในวิชาสังคมศึกษาที่พี่มองว่าเป็น “แกน” ที่น้องๆสามารถอ่านและทบทวนไว้เป็นฐานคิดในการเชื่อมต่อประเด็นในสิ่งที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญน้องๆควรทำความเข้าใจคือ “ความหมายของคำว่าสังคมสงเคราะห์” ที่เปรียบเสมือนกาวที่เชื่อมต่อระหว่างความคิด ข้อเท็จจริง และ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นโดยที่ในความเป็นจริงแล้วการต่อยอดรายละเอียดที่มีอยู่สามารถที่จะทำได้ทั้งในรูปแบบการสอบแบบปรนัยและอัตนัยที่มีความหลากหลายและซับซ้อนต่อสถานการณ์และภาพจำที่มีอยู่ ซึ่งในความจริงแล้วข้อสอบที่จะเห็นได้นั้นมีความหลากหลายและสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ระหว่างข้อเท็จจริงกับประสบการณ์ที่เป็นภาพจำระหว่างกัน



          อีกประเด็นหนึ่งที่พี่เชื่อว่าหลายคนคงคิดคือ “ความยากและความซับซ้อน” ซึ่งแน่นอนว่า การสอบลักษณะนี้ต้องมีความหลากหลายทั้งในแง่มุมของข้อเท็จจริง ประสบการณ์ และ การให้ความคิดเห็นที่บางอย่างสามารถนำมาประยุกต์ร่วมกับความรู้อื่นๆได้ที่ไม่ใช่แค่ความเข้าใจในเรื่องจิตอาสา การช่วยเหลือ สวัสดิการ การดูแล การแก้ปัญหา ฯลฯ แต่อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ เชื่อมโยง และ เปรียบเทียบก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่น้องๆควรฝึกฝนมาด้วยเพราะในการสอบนั้นต่อให้มีลักษณะคำถามที่ตรงตัวบ้าง ซับซ้อนบ้าง แต่ก็ต้องกลับมาคิดกันต่อว่า อะไรคือสิ่งที่สามารถตอบโจทย์และสร้างความหลากหลายที่ไม่ใช่แค่การเขียนให้จบไปและตอบให้เสร็จ แต่เป็นความชัดเจนที่สามารถบูรณาการให้เห็นได้ว่า คำว่าสังคมสงเคราะห์ไม่ใช่แค่การแจกของหรือแก้ปัญหาในบางแง่มุมเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับชีวิต ความเป็นอยู่ และ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยอาจมองจากสิ่งที่อยู่รอบตัว ไกลตัว สถานการณ์สังคม และอีกหลายสิ่งที่พยายามนำมาเชื่อมต่อเพื่อให้เกิดความเป็นรูปธรรมและมีการฝึกฝนพัฒนาตนเองตามสถานการณ์ บริบท และ ภาพจำอื่นๆที่สุดท้ายแล้วการต่อยอดให้เกิดความหมายจะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นั้นสามารถตอบโจทย์ได้อย่างเป็นระบบและชัดเจนต่อการตัดสินใจที่ไม่ใช่แค่การตอบข้อสอบหรือการหาทางออกให้กับตนเองให้เขียนให้เสร็จ แต่ต้องรู้ตัวเองให้ได้ว่า สิ่งที่เราเข้าใจ สิ่งที่รู้ และ สิ่งที่ต้องสื่อสารเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ต่อทางเลือกและรูปแบบข้อสอบหรือไม่ที่บางทีน้องๆต้องมีความยืดหยุ่นต่อความรู้ ทัศนคติ และ แง่มุมอื่นๆที่ไม่ได้เป็นตัวบอกว่าสิ่งนั้นคือคำตอบหรือสิ่งนั้นคือสิ่งสุดท้ายที่จะบอกว่าสิ่งนี้ดีที่สุดหรือตอบโจทย์กับทุกสิ่งอย่างที่สามารถตอบสนองร่วมกันได้

          แล้วจะอ่านอะไรดีละ (?) หลายคนคงมีคำถามนี้ในใจเช่นกันที่จะบอกว่าจะอ่านอะไรดีละ เพราะหนังสือหาอ่านยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าน้องจะอ่านหนังสือตามคำแนะนำแล้วจะสามารถทำข้อสอบได้เลย เพราะสุดท้ายพี่มองว่ามันเป็นเพียง “ฐานคิด” ที่อาจมีความลึกซึ้งอันเนื่องมาจากจุดประสงค์ของข้อสอบโดยรวมแล้วเป็นการวัดความรู้จากทัศนคติและประสบการณ์ที่แต่ละคนสามารถนำมาคิด พิจารณา และ ตอบโจทย์ได้ ดังนั้นถ้าน้องอ่านวิชาสังคมศึกษาเป็นแกนความคิดย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าจะให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นควรอ่านแบบประยุกต์และนำความรู้ที่ได้จากความเข้าใจพื้นฐาน การบูรณาการต่อยอดมาเป็นส่วนประกอบร่วมกันในการวิพากษ์ วิเคราะห์ และ ลงรายละเอียดร่วมกันเพราะเชื่อว่าความรู้ที่สั่งสมนั้นจะเป็นประโยชน์ในการต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรมทั้งทักษะการเขียนและการตอบแบบปรนัย
 
          อย่างไรก็ตามก่อนที่จะจากกันพี่อยากแนะนำกับน้องทุกคนที่สนใจคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า ต่อให้น้องๆมีความสนใจและมีเป้าหมายต่อการเข้าถึงคณะและสาขาอย่างไรก็ตาม การต่อยอดและเปิดใจให้กว้างต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรมและเชื่อว่า ความพยายาม และ การวางเป้าหมายอย่างเป็นระบบจะเป็นตัวช่วยที่ดีต่อการเรียนต่อและการทำงานในอนาคต
          สุดท้าย พี่มีคลิปวิดีโอประกอบที่จะทำให้น้องๆเข้าใจมากขึ้น ลองเปิดไปดูและเรียนรู้ตามกันนะครับ

 
By P’Jun (พี่จูน)  ปพน จูน คิมูระ
คอร์สเรียน https://www.boostup.in.th/institute/tutor/77/course
 
 


 
 


 
 

P’Jun Teach Series (จากความรู้ในเพจ...สู่การวิเคราะห์และเห็นภาพวิชาสังคมแบบง่ายๆ)

    
พบเทคนิคต่าง ๆ อีกมากมายที่ http://bit.ly/BoostUpLine 
ติดตามโปรโมชั่นและคอร์สเรียนอื่นๆ ที่ https://www.boostup.in.th/
ติดตามเพจที่   https://facebook.com/boostuptutor/