มารู้จักวิศวกรรมสาขาต่าง ๆกันเถอะ (ภาค 1)

มารู้จักวิศวกรรมสาขาต่าง ๆกันเถอะ 

น้องๆหลายคนที่อยากเป็นวิศวกร พี่เชื่อว่าน้อง ๆ ทุกคน น่าจะมีคำถามที่อยากรู้คล้าย ๆ กันว่า 
วิศวะมีกี่สาขา มีอะไรบ้าง ทำงานยังไงจริง ๆ แล้ววิศวฯนั้นมีหลายสาขามาก ๆ 
แล้วแต่ละมหาวิทยาลัยก็แตกต่างกันไป

อย่ารอช้า ไปดูกันเลย!!! 

1.วิศวกรรมปิโตรเลียม
หลักๆสาขานี้จะศึกษาด้านการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมเคมี รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้านเคมี โดยจะต้องศึกษาทั้งด้านวิศวกรรมเครื่องกล และวิทยาศาสตร์เคมี มาประยุกต์ด้วยกัน

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเคมี ตามโรงงานต่างๆเช่น โรงงานน้ำมัน ปิโตรเคมี พลังงาน สิ่งแวดล้อม ยาและอาหาร วิศวกรควบคุมและวางแผนการผลิต วิศวกรออกแบบอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเคมีภัณฑ์ เป็นต้น




2.วิศวะกรรมเคมี
หลักๆสาขานี้จะศึกษาด้านการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมเคมี รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้านเคมี โดยจะต้องศึกษาทั้งด้านวิศวกรรมเครื่องกล และวิทยาศาสตร์เคมี มาประยุกต์ด้วยกัน

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเคมี ตามโรงงานต่างๆเช่น โรงงานน้ำมัน ปิโตรเคมี พลังงาน สิ่งแวดล้อม ยาและอาหาร วิศวกรควบคุมและวางแผนการผลิต วิศวกรออกแบบอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเคมีภัณฑ์ เป็นต้น



3.วิศวะกรรมเครื่องกล
ภาคนี้ต้องบอกกันตรงๆเลยว่าเป็นสาขาของหนุ่มๆ เพราะไม่เหมาะกับสาวๆเท่าไหร่ เนื่องจากงานค่อนข้างจะต้องลุยๆหน่อย 

เครื่องกลเป็นศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานในการออกแบบ พัฒนา และผลิตอุปกรณ์ที่เป็นต้นกำลัง ถ่ายทอดกำลัง และใช้กำลัง การศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ ด้านพลังงาน ความร้อน และของไหล และลักษณะที่สองคือ ด้านการเคลื่อนไหว 

โดยตัวอย่างการออกแบบเครื่องจักรกล เช่น ระบบไฮดรอลิกซ์ รากฐานหุ่นยนต์ พลศาสตร์การบิน การควบคุมการผลิตเครื่องจักรกล การออกแบบบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเครื่องกล ในการออกแบบเครื่องจักรกล ระบบความร้อน วิศวกรในโรงงานต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า หรือ โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น

4.วิศวกรรมไฟฟ้า

บอกเลยว่าสาขานี้สาขาที่มีเทพคำนวณสถิตย์อยู่เยอะมากๆ เพราะวิชาที่เรียนคำนวณหนักมากๆ ใครไม่ระวังเดี๋ยวจะหาว่าพี่ไม่เตือน

โดยสาขานี้จะศึกษาเรื่องการด้านไฟฟ้ากำลังแขนงต่างๆ เช่น การวิเคราะห์และออกแบบการผลิต ระบบจำหน่ายไฟฟ้า ไปยังพื้นที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังต้องศึกษาในด้าน วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง การเขียนโปรแกรม ระบบควบคุม อิเล็กทรอนิกซ์ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า รวมทั้งศึกษาระบบไฟฟ้าการประมาณราคา


อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรการไฟฟ้าฝ่ายผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง วิศวกรรมออกแบบระบบ วิศวกรวิเคราะห์วิจัยและพัฒนาด้านพลังงานเป็นต้น



5.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สาขานี้ถือว่าเป็นหนึ่งในสาขายอดฮิต แทบทุกมหาลัย และจุดเด่นสำหรับภาคนี้ คือ เล่นเกมกันเก่งแทบทุกคน

สำหรับการเรียนจะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทางทฤษฎี กลุ่มทางซอฟต์แวร์ กลุ่มทางฮาร์ตแวร์ และกลุ่มทางระบบสารสนเทศ การเรียนจะผสมผสานไปด้วยการออกแบบและการวิเคราะห์ไปว่าจะเป็นทางซอฟต์แวร์ ฮาร์ตแวร์ และระบบสารสนเทศ

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ วิศวกรซอฟต์แวร์ ผู้ดูแลระบบให้กับองค์กรต่างๆ นักออกแบบมัลติมีเดีย ที่ปรึกษาบริษัทต่างๆด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น



 
6.วิศวกรรมอุตสาหกรรม
เป็นสาขาที่เรียนแนวคิดวิศวกรรมหลายแขนงผสมผสานเข้ากับแนวคิดทางธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ดังนั้นวิศวกรรมอุตสาหกรรมจึงสามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้ทุกประเภท ไม่เฉพาะแต่การเป็นวิศวกรโรงงานเท่านั้น หน้าที่หลักของวิศวกรอุตสาหการคือ การวางแผนการผลิต แหล่งวัตถุดิบ ตลาด แนวโน้มการตลาด แผนผังโรงงาน การควบคุมความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ เป็นต้น

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา สามารถทำงานในภาครัฐและเอกชน เป็นวิศวกรอุตสาหการเพื่อออกแบบอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต การบริหารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทำงานในหน่วยงานราชการ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ไฟฟ้า โทรคมนาคม เป็นต้น




7.วิศวกรรมโยธา
อยากคบเด็กสร้างบ้านมาทางนี้ สาขานี้ก็เป็นหนึ่งสาขาที่ต้องลุยๆมาก อาจไม่เหมาะกับสาวๆเท่าไหร่นัก

โดยสาขาจะเรียนการวิเคราะห์โครงสร้างต่างๆ ควบคุมการก่อสร้าง งานตรวจสอบคุณภาพ การพัฒนาวัสดุก่อสร้าง การวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ การสำรวจพื้นที่ต่างๆ ร่วมไปถึงการบริหารจัดการก่อสร้าง โดยใช้ทรัพยากรและวัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรโยธาก่อสร้างตึก เขื่อน วิศวกรด้านโครงสร้าง วิศวกรด้านควบคุมและออกแบบระบบจราจร วิศวกรภาคอุตสาหกรรมเช่น ปูนซีเมนต์ ไม้ฝาบ้าน เป็นต้น



 
8.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
สาขานี้ก็เป็นอีกสาขาที่เป็นที่นิยมของสาวๆ 
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ ระบบบำบัดน้ำเสีย โดยใช้ความรู้จากวิศวกรรมโยธา เคมี และชีววิทยา มาประยุกต์ใช้ การศึกษาระบบน้ำทิ้งของโรงงาน น้ำบริโภค การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มลพิษทางอากาศ มลพิศทางดินและน้ำ ตลอดจน กากของสารอันตรายที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรการประปา วิศวกรสิ่งแวดล้อมให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแก่โรงงานอุตสาหกรรม กรมอนามัย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น



 
9.วิศวกรรมโลจิสติก
ศึกษาหลักการออกแบบและวางแผนระบบการจัดการต่างๆ เช่นระบบคลังสินค้า ระบบการผลิต ระบบการกระจายสินค้า การวางเครือข่ายการคนส่งสินค้า การจัดซื้อจัดหา ผสมผสานกับความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการและวิศวกรรมโยธ

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรมีหน้าที่จัดการ ออกแบบระบบต่างๆ การจัดการผลิต การขนส่ง การตลาด ออกแบบผลิตภัณฑ์และจัดซื้อ


 

10.วิศวกรรมชีวการแพทย์
ศึกษาเกี่ยวกับกลไกต่างๆของร่างกายทางสรีระวิทยาและชีววิทยาและการประยุกต์กับหลักการทางวิศวกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา หรือการช่วยในการในการบำบัดหรือตรวจวินิจฉัย

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเครื่องมือแพทย์ตามโรงพยาบาลต่างๆ ดูแล รักษา ซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์ วิศวกรเครื่องมือแพทย์ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์