เก็บความรู้วิชาสังคมอย่างไรให้ดีที่สุด

         
         พี่เชื่อว่าน้องหลายคนเริ่มกังวลใจและมีคำถามมากมายว่าจะเก็บคะแนนสอบแต่ละสนามในวิชาสังคมอย่างไรให้ออกมาดีที่สุดและสามารถเพียงพอต่อการเข้าศึกษาต่อในแต่ละคณะตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการเก็บคะแนน เก็บประเด็น และ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วน
 
          สำหรับใครหลายคนอาจคิดว่าวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาที่ยากและมีความละเอียดต่อการศึกษา การทบทวน และ ฝึกฝนโจทย์ในมิติต่างๆที่นับวันมีความซับซ้อนท่ามกลางสถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลงของตัวเนื้อหา การอัพเดตข้อมูล รวมถึงภาพจำจากความเข้าใจที่สุดท้ายแล้วการต่อยอดเพื่อหาคำตอบเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเหลือ พัฒนาตนเอง และ ทำข้อสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อว่าหลายคนคงกำลังคิดว่า วิชาสังคมศึกษาเก็บคะแนนได้ยากและค่อนข้างท้าทายต่อสถานการณ์และประสบการณ์ที่มีอยู่ซึ่งตรงนี้อยากให้ทุกคนลองเปิดใจและปรับตัวกับแนวโน้มของเนื้อหา ข้อสอบ และ ความเข้าใจในเบื้องต้นที่สามารถนำมาต่อยอดได้ในแต่ละสาระวิชา แต่ละเรื่องราว และ มีบทต่อยอดอื่นๆตามมาที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้การทบทวนและทำข้อสอบมีความน่าสนใจและสามารถตอบโจทย์กับแนวโน้มที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้เสมอ โดยพี่จะขอแนะนำเทคนิคและแนวทางที่เหมาะสมที่สามารถใช้ได้กับทุกคนไม่ว่าน้องคนไหนจะมีพื้นที่ดีหรืออ่อนก็สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อีกด้วย
 
***ในบทความนี้จะขอกล่าวเป็นภาพรวมในทุกสาระ แต่อยากให้น้องๆไปทบทวนหาความรู้เพิ่มเติมนะครับ***
 

เก็บรายละเอียดให้ครบ…แต่ต้องเข้าใจ

          สำหรับใครหลายคนพี่เชื่อว่าจะถูกขัดเกลาในความเชื่อที่เกี่ยวกับการอ่านให้มากที่สุด การอ่านให้ครอบคลุมกับทุกสาระและทุกเรื่องที่จะออกข้อสอบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดที่น้องจะอ่านทบทวนในแต่ละสาระวิชา/ประเด็นเหล่านั้น แต่น้องต้องเข้าใจแล้วประยุกต์ใช้ให้เป็น เพราะพี่เชื่อว่าข้อสอบวิชาสังคมไม่ได้มีเพียงแค่ “เนื้อหา” “ข้อมูล” เท่านั้นแต่ทุกอย่างล้วนมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนา และ ขยายออกมาในรูปแบบต่างๆที่สามารถขยายความ ต่อยอดประเด็น และ ให้รายละเอียดผ่านการฝึกฝน การตั้งคำถาม และ ความท้าทายตนเองในแต่ละรูปแบบที่สามารถนำมาขยายได้เสมอ อย่างไรก็ตาม การเก็บรายละเอียดให้ครบหลายคนอาจจะคิดว่า “ต้องจำได้” ซึ่งอาจเกิดจากข้อสอบเก่า ความรู้ชุดเดิม ฯลฯ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องไม่เข้าใจและเลือกทำเฉพาะในสิ่งที่จำเป็น เราต้องเข้าใจ ต่อยอด และ บูรณาการ กับความจริง ความเสมือน และ ความย้อนแย้งที่สามารถพบเจอได้อย่างต่อเนื่องสำหรับการสอบในสนามต่างๆที่นับวันมีการพัฒนา มีบทสะท้อน และ ให้การยอมรับอย่างต่อเนื่อง
 

ควรเก็บเนื้อหาอะไร (?)

          สำหรับพี่นั้นวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาที่สามารถเก็บรายละเอียดได้ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำที่มีความสัมพันธ์ตั้งแต่แก่นสาระ แนวความคิด การวิเคราะห์ รวมไปถึงทักษะการทำโจทย์ที่มีความหลากหลายและมีทางเลือกที่สามารถนำมาต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง และจะเห็นได้ว่าปัจจุบันแม้เนื้อหาบางอย่างจะมีความตายตัวในรายละเอียดแต่ไม่ได้หมายความว่าความยืดหยุ่นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะในการเรียนรู้วิชาสังคมนั้นพี่มองว่าเป็น “การเปิดโลก” และ “วิสัยทัศน์” ที่แม้บางอย่างอาจต้องจำกัดตนเองตามกรอบทฤษฎี แต่ไม่ได้หมายความว่าการเปิดใจเพื่อรับรู้สิ่งใหม่ๆไม่สามารถทำได้ จะกล่าวว่า สิ่งเหล่านั้นสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและมีการสร้างเงื่อนไขในการเรียนรู้ที่หลากหลายได้เช่นกัน โดยพี่จะขอยกตัวอย่างประเด็นในเบื้องต้นที่คิดว่าสามารถเก็บเนื้อหาในเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่การต่อยอดประเด็นและทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการตรวจทาน การหยิบประเด็นที่เหมาะสมสำหรับการเอาไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านตามสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน

สาระวิชา : หน้าที่พลเมือง

ประเด็นที่น่าสนใจ (ตัวอย่าง : สามารถค้นคว้าเพิ่มได้)

         - สิทธิและความเป็นมนุษย์ภายใต้สภาพบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
         - สถาบันทางสังคมและการจัดระบบอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
         - การกระจายอำนาจ การรวมศูนย์ บทเรียนและความย้อนแย้งในการบริหารราชการแผ่นดิน
         - ระบบการเมือง วัฒนธรรมทางสังคม ต่อวิถีการดำเนินชีวิต (แต่ละรูปแบบ)



สาระวิชา : เศรษฐศาสตร์

ประเด็นที่น่าสนใจ (ตัวอย่าง : สามารถค้นคว้าเพิ่มได้)

          - นโยบายเศรษฐกิจและสังคมกับการสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นที่มีความซับซ้อนอย่างต่อเนื่อง
          - ดัชนี มูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงความร่วมมือในรูปแบบต่างๆที่นำมาสะท้อนผ่านสัญลักษณ์ วาทกรรม และ วิถีชุมชนที่เปลี่ยนไป
          - การคำนวณมูลค่าและตัวแปรที่เหมาะสมต่ออุปสงค์ อุปทาน และ แนวโน้มต่อการเปลี่ยนแปลงในยุค ดิจิตัลที่มีผลต่อครัวเรือน อุตสาหกรรม และ นวัตกรรม
          - อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และ มูลค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเป็นองค์รวมอย่างเป็นเหตุเป็นผล

สาระวิชา : ประวัติศาสตร์

ประเด็นที่น่าสนใจ (ตัวอย่าง : สามารถค้นคว้าเพิ่มได้)

          - การเปรียบเทียบในแต่ละบริบทไม่ว่าจะเป็น การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความคิด ฯลฯ ระหว่างประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล
          - จุดเปลี่ยนที่น่าสนใจและส่งผลต่อพฤติกรรมการดำรงอยู่ การวางแผนชีวิต และ การขับเคลื่อนสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
         - การพิสูจน์หลักฐาน ข้อเท็จจริง ภายใต้วิธีการทางประวัติศาสตร์ และ การบูรณาการในมิติสหวิทยาการ

สาระวิชา : ศาสนา

ประเด็นที่น่าสนใจ (ตัวอย่าง : สามารถค้นคว้าเพิ่มได้)

          - ที่มาของการรวมตัวกัน การสร้างวัฒนธรรมความเชื่อจากคติท้องถิ่น
          - ที่มาที่ไปของการมีศาสนาในแต่ละศาสนาว่ามีอย่างไร แนวทางในการขับเคลื่อน คำสอน พิธีกรรม มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
          - การเปรียบเทียบ “แก่น” และแนวทางที่ผสมผสานระหว่างศาสนาที่สามารถต่อยอดได้อย่างเหมาะสมและมีความต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

สาระวิชา : ภูมิศาสตร์

ประเด็นที่น่าสนใจ (ตัวอย่าง : สามารถค้นคว้าเพิ่มได้)

          - เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม การสร้างเงื่อนไขในการเรียนรู้และออกแบบแนวทางในการพัฒนา
          - สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่มีผลต่อประชากร การขับเคลื่อนนโยบาย และ แนวคิดทางสังคมที่เกี่ยวข้อง
         - เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการจัดการไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญา กฎหมาย ฯลฯ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบรวมถึงมาตรการทางสังคมที่นำมาใช้กับการจัดการทั้งในและระหว่างประเทศ

Simple Technique

          สิ่งที่พี่อยากแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการเตรียมตัวสอบวิชาสังคมนั้นนอกจากการทบทวนเนื้อหาและแนวทางของรายละเอียดที่มีอยู่นั้นคือ การวางองค์ประกอบความรู้ที่มีอยู่โดยที่การทบทวนนั้นจะมีการฝึกโจทย์และค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรียนอยู่แล้วในชั้นเรียน แต่เมื่อจะต้องใช้ในการทวนและสอบนั้นพี่มีแนวทางง่ายๆแค่ 2 ขั้นตอนในการเตรียมพร้อมคือ

          1. Scan : วิธีนี้เป็นวิธีที่สามารถใช้ได้ทั้งการอ่านและทำข้อสอบเพราะเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สามารถนำมาต่อยอดในการหาข้อเท็จจริง สาระสำคัญ และ การต่อยอดระบบเพื่อให้รายละเอียดนั้นสามารถตอบโจทย์ได้อย่างเหมาะสม เพราะการสแกนนั้นคือ การอ่านในภาพรวมเพื่อทำความเข้าใจแบบกว้างว่ามีประเด็นอะไรที่มีความน่าสนใจเพื่อนำมาต่อยอดในการขยายความหรือเจาะลึกอย่างมีประสิทธิภาพ

           2.วิเคราะห์และเปรียบเทียบ : พี่มองว่าวิธีนี่เป็นการต่อยอดจากขั้นตอนแรกที่สามารถนำมาใช้ในการสอบได้มากขึ้น เพราะบางอย่างมีการอธิบายรายละเอียดและสามารถขยายความจากความเข้าใจพื้นฐาน การต่อยอดประเด็น และอาจหมายถึงการลงรายละเอียดของแต่ละเรื่องราวที่สามารถนำมาใช้ทั้งการอ่านคำถาม การวิเคราะห์ และ หาคำตอบในสิ่งที่ต้องการ
 
          ดังนั้นสำหรับพี่พี่คิดว่าในการอ่านหนังสือ เตรียมความพร้อมในวิชาสังคมศึกษาไม่ใช่เรื่องยากที่จะทบทวนแล้วเตรียมฝึกฝนเพื่อให้การสอบนั้นสามารถตอบโจทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีความท้าทายซ่อนอยู่เสมอท่ามกลางบริบท แนวคิด และ ภาพจำต่างๆที่สามารถเอามาพัฒนาตนเองทั้งในวิชาสังคมและวิชาอื่นๆซึ่งพี่อยากให้ทุกคนเตรียมตัว วางแผน และ ลงมือทำ เพราะไม่ใช่เรื่องยากที่จะลงมือทำอย่างตั้งใจเสมอ
 
 
พี่เชื่อนะ…วิชาสังคมไม่ยากเกินความพยายามอย่างแน่นอน…ถ้าทุกคนตั้งใจและวางแผนอย่างเป็นระบบและคิดให้เป็น


 
By P’Jun (พี่จูน)  ปพน จูน คิมูระ
คอร์สเรียน https://www.boostup.in.th/institute/tutor/77/course
 
 


 
 


 
 
    
พบเทคนิคต่าง ๆ อีกมากมายที่ http://bit.ly/BoostUpLine 
ติดตามโปรโมชั่นและคอร์สเรียนอื่นๆ ที่ https://www.boostup.in.th/
ติดตามเพจที่   https://facebook.com/boostuptutor/