ประเด็นที่ชอบออกข้อสอบบ่อย ๆ ในวิชาสังคมศึกษา


ศาสนา

พระพุทธศาสนา

  - พุทธประวัติ , การเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้งในช่วงพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบัน พุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาวพุทธตัวอย่าง 
  - พระไตรปิฎก , หลักคำสอนตั้งแต่การออกบวช การเผยแพร่ธรรมในแต่ละรูปแบบ เช่น ชาดก เรื่องเล่า ฯลฯ
  - หลักธรรมต่างๆที่มีตั้งแต่หลักธรรมพื้นฐาน (อริยสัจ 4) หลักธรรมที่เชื่อมโยงในองค์ประกอบของอริยสัจ 4 จนไปถึงหลักธรรมชั้นสูง (การไปสู่การบรรลุโสดาบัน) จนไปถึงการเปรียบเทียบหลักธรรมคำสอนที่มีการสะท้อนคิดภายใต้พระไตรปิฎกต่างๆ
  - การลงรายละเอียดของพระไตรปิฎกในแต่ละเรื่องราว (พระสุตันตปิฎก พระวินัยปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก) โดยอาจสะท้อนจากเรื่องเล่า หรือ ปรากฏการณ์สะท้อนต่อความเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่
  - ศาสนาพิธีในรูปแบบต่างๆทั้งกุศลพิธี และ อกุศลพิธี โดยต้องดูถึงข้อมูล รายละเอียดในตัวพิธี ผู้ประกอบพิธี การนิมนต์ การอาราธนาศีล การกรวดน้ำ รวมไปถึง การถวายสิ่งของ/การประเคน ตามรูปแบบและประเพณีนิยม

ศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย

  - ลักษณะของศาสนา ทั้งแบบเทวนิยม และ อเทวนิยมว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรทั้งในแง่การประกอบพิธีกรรม คำสอน และ การดำรงชีวิต
  - หลักการและเหตุผลของการก่อตั้งศาสนาว่า มีขึ้นจากอะไร เพราะอะไร และสิ่งที่นำมาตอบโจทย์ต่อการสร้างเงื่อนไขของการขับเคลื่อนศาสนาภายใต้วัฒนธรรม ความเชื่อ และ สิ่งที่คาดหวัง
  - การประกอบพิธีกรรม โดยมีความเชื่อมโยงถึงที่มาและสิ่งที่จะได้รับหลังการประกอบพิธีทั้งในสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือในสิ่งที่ถูกวิพากษ์ในมิติความเชื่อ
  - การเปรียบเทียบคำสอน พิธี และ หลักการ ระเบียบแบบแผนสำหร้บการนำไปประกอบการสะท้อนต่อความคิดและการเปรียบเปรยระหว่างศาสนาและหลักการในการดำเนินชีวิต
  - การเชื่อมโยงภายใต้ประเด็นทางสังคมโดยนำเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และ การดำเนินชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผลมาเป็นองค์ประกอบในการศึกษาและวิเคราะห์ตามบรรทัดฐานที่มีอยู่


หน้าที่พลเมือง

สังคมและพลเมือง

  - สถาบันทางสังคมในแต่ละอย่างกับการทำหน้าที่ตามสถานภาพ บทบาท และ หน้าที่
  - สิทธิและเสรีภาพภายใต้กฎหมาย จริยธรรม และ วิถีการดำเนินชีวิต
  - บรรทัดฐานทางสังคมต่อการปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
  - การพิทักษ์สิทธิ์ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น สิทธิเด็ก สิทธิผู้ป่วย
  - สิทธิมนุษยชนกับความถูกต้องตามเงื่อนไข (กฎหมายไทย และ กฎหมายระหว่างประเทศ)
  - จารีต ประเพณี กับระเบียบและการครอบงำทางสังคม

รัฐและการปกครอง

  - รูปแบบของรัฐ ลักษณะอำนาจในรูปแบบต่างๆ
  - การบริหารราชการแผ่นดินกับการเปลี่ยนผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบัน
  - ขั้วการเมืองและการปรับตัวตามสถานการณ์ทางสังคม
  - ระบอบการปกครองกับการรองรับกับเสียงและแรงต่อต้านทั้งภายในและระหว่างประเทศ
  - รูปแบบการปกครองกับการปรับตัวทางสังคมภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีอยู่
  - อำนาจอธิปไตยกับสิทธิของประชาชนภายใต้กระบวนการและการจัดระเบียบทางสังคม

กฎหมายและรัฐธรรมนูญ

  - ความหมายและประภทของกฎหมายแบบต่างๆ (กฎหมายสารบัญญัติ วิธีสบัญญัติ , กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา)
  - ความสัมพันธ์ของกฎหมายกับการดำเนินกระบวนการต่างๆ (กฎหมายมหาชน กับ กฎหมายเอกชน)
  - การพิจารณาคดีและแบบแผนในการบังคับใช้กฎหมาย (อาจดูในเรื่อง Common and Civil Law ควบคู่กันไป
  - รัฐธรรมนูญกับการมีบทบาททั้งในการเมือง การใช้อำนาจของรัฐ และ การแก้ไขกฎหมาย ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์กร (ดูจากปรากฏการณ์และปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน)
  - กฎหมายเฉพาะในแต่ละอย่าง เช่น สัญญา การกู้ยืม ทรัพย์ หนี้ ผู้เยาว์ การสมรส มรดก โดยแนะนำให้ดูจากกรณีตัวอย่าง เงื่อนไข และ ข้อยกเว้นบางอย่างที่เกิดขึ้น


เศรษฐศาสตร์

ความหมายและความสัมพันธ์ต่างๆ


  - ความหมายของคำว่า เศรษฐศาสตร์ กับ เศรษฐกิจ รวมถึง การแบ่งประเภทและขอบเขตที่เกี่ยวข้อง
  - ระบบเศรษฐกิจมีผลต่อรูปแบบการปกครองอย่างไรและมีการปรับตัวจากทฤษฎีอย่างไรบ้าง
  - ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ อุปทาน ต่อการกำหนดกลไกราคาและความยืดหยุ่นต่อการประเมินสภาพเศรษฐกิจทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ

ผลิตภัณฑ์ทางเศรษฐกิจที่คุ้นเคย

  - รูปแบบตลาด ประเภทของสินค้าในแต่ละรูปแบบที่ส่งผลต่อการจัดระบบและกลไกในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
  - ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลที่ทำให้ราคาสินค้ากับปริมาณ/ความต้องการมีความผันผวนและไม่แน่นอน
  - ราคาดุลยภาพกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน
  - GDP กับ GNP มีผลอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ รายได้ต่อหัว เส้นความยากจน รวมถึง ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น
  - อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ เป็นตัวบ่งบอกถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกได้อย่างไรบ้าง
  - รูปแบบของสหกรณ์ การดำเนินกิจการ และ การปรับตัวในแต่ละประเภทว่ามีผลอย่างไรต่อแนวโน้มและกระแสสังคม
  - มูลค่าทางเศรษฐกิจต่อหน่วยเศรษฐกิจ เป็นการวัดถึงกำลัง/ศักยภาพในระดับแคบหรือระดับกว้าง
  - ความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ไม่แน่นอนในระบบและบรรทัดฐานทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจและความยืดหยุ่นทางสังคมที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

ปัญหาเศรษฐกิจ + ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

  - ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ เป็นสิ่งที่มีผลเฉพาะการจัดการในระดับนโยบายอย่างเดียวหรือไม่
  - ภาวะเงินเฟ้อ/ฝืดมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยและมูลค่าอื่นๆอย่างไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  - ระดับราคาและความไม่แน่นอนส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ผลิต/ผู้บริโภคอย่างไรบ้างแล้วการจัดเก็บภาษีที่ไม่เข้าเป้า รัฐจะมีวิธีการอย่างไรในการเข้มงวดในระบบเศรษฐกิจ
  - ผลกระทบจากภายนอกและสิ่งฉับพลันส่งผลต่ออัตราการเติบโตอย่างไรบ้างแล้วถ้าไร้มาตรการในการจัดการจะส่งผลอย่างไรในระยะยาว
  - ค่าเงินลดลงกับความเชื่อมั่นในแต่ละหน่วยเศรษฐกิจ
  - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนที่สามารถใช้ได้แค่ในระดับมหภาคหรือไม่ แล้วการปรับแผนตามยุทธศาสตร์สามารถทำได้อย่างไร
  - ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งการกระจายโอกาส ภาคีเครือข่าย การช่วยเหลือผู้ค้ารายย่อย-ผู้มีรายได้น้อย
  - การพัฒนารูปแบบและความสัมพันธ์ภายใต้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์และเงื่อนไขต่างๆที่นำมาใช้ต่อการบริหารจัดการที่เกิดขึ้น
  - ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไข การทำพันธสัญญา การผูกโยงเงื่อนไขที่นำไปสู่การได้ดุล เกินดุล และ ขาดดุล
  - การพัฒนาภายใต้การสร้างความร่วมมือตามเงื่อนไขต่างๆเช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาเขตอุตสาหกรรม และ การสร้างความยั่งยืนที่ชัดเจนและพิสูจน์ได้


ประวัติศาสตร์

ความหมายทั่วไป

  - ความหมายของคำว่าประวัติศาสตร์ การแบ่งยุคสมัยและการเปรียบเทียบระหว่างยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์
  - วิธีการทางประวัติศาสตร์กับการนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษา
  - การเทียบศักราช ยุคสมัย จากกรณีศึกษาและการประยุกต์ใช้
  - ประเภทของหลักฐาน ความสำคัญ และ ความสัมพันธ์

ประวัติศาสตร์ไทย

  - จุดเด่นและความสำคัญของแต่ละอาณาจักรโบราณที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค โดยสนใจตั้งแต่การปกครอง วิถีทางวัฒนธรรม ความเชื่อ การดำเนินชีวิต
  - การเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน (เมืองขึ้น) ที่มีเงื่อนไขทางการปกครอง การซึมซับทางวัฒนธรรมและความคิด
  - การเดินทางของแต่ละยุคสมัยตั้งแต่ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ โดยมองในลักษณะเดียวกันกับอาณาจักรโบราณ แต่อาจเพิ่มรายละเอียดในเรื่องการเจริญสัมพันธไมตรี ยุคทอง การต่อสู้ และ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  - วรรณกรรม เรื่องเล่า และ ข้อพิสูจน์จากหลักฐาน ตำนาน ฯลฯ 

ประวัติศาสตร์สากล

  - เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละประวัติศาสตร์
  - การค้นพบ/การสำรวจดินแดนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
  - การเปรียบเทียบและการนำมาใช้อธิบายต่อปรากฏการณ์และการสะท้อนต่อรูปแบบต่างๆโดยโยงตามประเด็นที่เกิดขึ้นเช่น การค้า การสงคราม การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  - การก่อเกิดสงคราม/การล่าอาณานิคมและการปรับตัวภายใต้สถานการณ์และความย้อนแย้ง
  - เงื่อนไขในการศึกษาและการเปรียบเทียบภายใต้วัฒนธรรม ความเชื่อ และ บริบทการเมืองในแต่ละประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น (ดูแต่ละยุค)
  - การเชื่อมโยงและสะท้อนต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ เช่น วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะ ฯลฯ 


ภูมิศาสตร์

ความหมายและประภทของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

  - ความหมายของคำว่าภูมิศาสตร์และความสัมพันธ์ของคำว่าภูมิศาสตร์กับสิ่งต่างๆ
  - วิธีการทางภูมิศาสตร์ต่อการศึกษาทางสังคม
  - ประเภทของเครื่องมือภูมิศาสตร์ที่นำมาใช้ในการศึกษาภายใต้ระบบภูมิสารสนเทศและวิธีการทางภูมิศาสตร์

ลักษณะทางกายภาพและสังคม

  - ลักษณะทางกายภาพในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย (ภูมิประเทศและอากาศ)
  - ความแปรปรวนจากปัญหาและมลพิษที่เกิดขึ้น
  - ลักษณะทางกายภาพและความแตกต่างที่เกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละทวีป
  - ลักษณะทางประชากรและการสร้างเงื่อนไขต่อการศึกษา (มองควบคู่เครื่องมือ)

ปัญหาและความท้าทาย

  - ความแปรปรวนและภัยพิบัติ
  - การบริหารจัดการเครื่องมือและนโยบายที่เกี่ยวข้องภายใต้ความสัมพันธ์และอำนาจ
  - ข้อจำกัดและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทางภูมิศาสตร์
  - เทคโนโลยีกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อความเข้าใจและสิ่งที่เกิดขึ้น
  - การปรับตัวตามสภาการณ์และการคาดหวังที่มีอยู่

คำแนะนำ 

  - ประเด็นที่หยิบมาอธิบายนั้นเป็นตัวอย่างแบบเบื้องต้น ซึ่งในความเป็นจริงนั้นอาจมีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียดทั้งแบบเจาะลึกหรือแบบอื่นๆ
  - ข้อสอบสังคมโดยมากจะออกวนเนื้อหา แต่ในบางครั้งก็สามารถออกข้อสอบในสิ่งที่ลึกกว่าปกติแต่ต้องครอบคลุมรายละเอียดอยู่แล้ว
  - รูปแบบข้อสอบจะมีความตายตัวในคำถาม แต่จะยืดหยุ่นในรายละเอียดและตัวเลือกเสมอ

 
By P’Jun (พี่จูน)  ปพน จูน คิมูระ
คอร์สเรียน https://www.boostup.in.th/institute/tutor/77/course
 . 
พบเทคนิคต่าง ๆ อีกมากมายที่ http://bit.ly/BoostUpLine 
ติดตามโปรโมชั่นและคอร์สเรียนอื่นๆ ที่ https://www.boostup.in.th/
ติดตามเพจที่   https://facebook.com/boostuptutor/