#DEK65 จะอ่านและเก็บวิชาสังคมศึกษาอย่างไรให้ทัน 1 ปีการศึกษา


จะอ่านและเก็บวิชาสังคมศึกษาอย่างไรให้ทัน 1 ปีการศึกษา
 
          สำหรับ DEK65 เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ยอมรับว่ามีความท้าทายและผันผวนค่อนข้างมากในการเตรียมความพร้อมและแผนการต่างๆที่บางอย่างอาจเป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดหวังไว้หรือเป็นสิ่งที่สามารถตัดสินได้โดยภาพรวมว่า เป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงโอกาสในการเข้าศึกษาต่อและคะแนนที่สามารถนำมาติดตัวได้ แม้จะยังไม่มีความแน่ชัดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในการสอบอะไรก็ตามที่หลายคนได้ติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การปรับตัวนั้นต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่องและมีเงื่อนไขในหลายๆอย่างที่บางอย่างอาจคาดไม่ถึงอีกด้วย
 
1 ปีการศึกษาจะพอหรือไม่ในการอ่านและฝึกฝน (?)
 
          คำถามนี้คงเป็นสิ่งที่สะท้อนอะไรได้หลายอย่างในสิ่งที่สื่อสารและฉุดคิดจากประสบการณ์และมุมมองต่างๆที่ไม่ได้มีนิยามที่ตายตัวเกี่ยวกับการวิเคราะห์ วิพากษ์ และ ต่อยอดในสิ่งที่ควรจะเป็น เพราะสิ่งที่นำมาใช้ในการทบทวนและการวางแผนนั้นย่อมเกิดจากประสบการณ์ องค์ความรู้ และ ลักษณะข้อสอบที่ใครหลายคนได้ไปทบทวนและฝึกฝนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเนื้อหาและรายละเอียดปลีกย่อยที่สามารถนำมาต่อยอดให้เกิดความซับซ้อน หลากหลาย และ กำกวม ไปพร้อมๆกัน แน่นอนว่าในการอ่านวิชาสังคมให้มีประสิทธิภาพและเกิดความหมายต่อการสอบนั้น “ไม่ใช่การอ่านให้หมดแล้วจบไป” แต่ “ต้องอ่านให้เข้าใจและเชื่อมต่อได้จริง”
 
          หลายคนที่เริ่มอ่านมาถึงตอนนี้คงตั้งข้อสงสัยว่า “จะทำได้จริงหรือไม่ เพราะด้วยเนื้อหาที่มากและเวลาที่จำกัด” อันที่จริงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าในรายละเอียดของเนื้อหาวิชาสังคมกันก่อนว่า เนื้อหาและความซับซ้อนของรายละเอียดต่างๆที่นำมาใช้ในการทบทวนและออกข้อสอบนั้นมีค่อนข้างมาก โดยที่บางอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเข้าใจ และมีอีกหลายสิ่งที่มองว่า “เป็นตัวสนับสนุน” ที่เน้นการเชื่อมโยงและต่อยอดมากกว่าการจดจำและเข้าใจเป็นหลัก ดังนั้นในการให้ความสำคัญของประเด็นและการทบทวนจึงเป็นสิ่งที่ต้องคู่ขนานกันไปโดยไม่ทิ้งอะไรอันหนึ่งไว้ข้างหลังแล้วให้น้ำหนักกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป
 
          อีกอย่างหนึ่งที่อยากให้คิดร่วมกันสำหรับการเตรียมพร้อมในช่วงเวลานี้คือ การวางแผนในการฝึกโจทย์/แนวข้อสอบที่แต่ละคนจะต้องวางแผนให้รัดกุมและเป็นการจัดระบบความคิดร่วมกันที่ผสมผสานระหว่างการทบทวน การต่อยอด และ การสร้างพื้นที่ที่เข้มข้นต่อเนื้อหาและรายละเอียดต่างๆที่สามารถนำมาใช้ต่อการพัฒนาและวางแผนสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ในสิ่งที่นำมาใช้กับโจทย์/ข้อสอบจะเป็นสิ่งที่ใกล้กัน แต่กระบวนการและเทคนิคที่นำมาใช้นั้นเป็นสิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์และวิเคราะห์ต่อสถานการณ์ที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้ข้อสอบและความรู้ที่นำมาต่อยอดมีความกลมกลืนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อาจเห็นได้จากแนวโน้มของข้อสอบปัจจุบันที่ปรับไปอย่างรวดเร็ว ต่อให้เนื้อหาจะมีการคงเดิมไว้หรือเปลี่ยนไปตามยุคสมัยก็ตาม แต่รูปแบบ ตัวเลือก และ ความซับซ้อน เป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนและสร้างทางเลือกที่ท้าทายและชวนปริศนาสำหรับการเตรียมความพร้อมในการสอบสำหรับใครหลายคนได้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าบางคนจะสนใจอ่านเฉพาะสาระวิชาที่ตนเองสนใจและเลือกที่จะเทในสิ่งที่ตนเองไม่สนใจหรือไม่ถนัด เพราะคิดว่าอาจไม่ได้นำมาใช้ในข้อสอบซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและมีความซับซ้อนรออยู่เสมอ
 
เก็บหัวใจของแต่ละสาระ (?) 
 
          อันที่จริงแล้วในการอ่านและทบทวนวิชาสังคมศึกษา ถ้าคุณไม่มีทิศทางในการวางแผนและจัดเก็บความรู้ว่าจะอ่านอะไร จะมีแนวโน้มต่อสิ่งใด และ จะวิพากษ์ต่ออะไรบ้าง การทบทวนและการจัดระบบทางความคิดอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดและไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการและรูปแบบเนื้อหาที่นับวันมีความซับซ้อนและไม่แน่นอน ดังนั้นถ้าจะให้เรียกว่า “ทบทวนหัวใจสาระ” ย่อมเป็นทางเลือกหนึ่งที่พวกคุณสามารถนำไปต่อยอดและลงรายละเอียดตามความเหมาะสมได้เช่นกัน
 
          เพราะในการเก็บรายละเอียดสิ่งที่เรียกว่า “หัวใจ” ของรายละเอียดที่มีอยู่นั้นจะเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ต่อการจัดการข้อมูล การเรียบเรียงความรู้ และ การวิพากษ์ตามข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่แค่การท่องจำหรือการหาแต่สาระสำคัญแต่ไม่เข้าใจอะไรเลย ซึ่งในการเก็บสาระสำคัญนั้นอาจขอให้เป็นการจับทิศทางจากแก่นของข้อมูลที่นำมาใช้ต่อการตัดสินใจ โดยขอยกตัวอย่างประเด็นที่อาจมองว่าเป็นหัวใจที่สามารถนำมาเป็นองค์ประกอบในการลงรายละเอียดในแต่ละสาระวิชาดังนี้
 
สาระหน้าที่พลเมือง : สถาบันทางสังคม การจัดระเบียบทางสังคม การเมืองการปกครอง กฎหมาย ระบบราชการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การวางระบบ ฯลฯ
สาระเศรษฐศาสตร์ : รูปแบบและประเภทของเศรษฐศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจ ตลาด ระบบกลไก การแลกเปลี่ยนเงินตรา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การจัดระบบและประเภทที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
สาระประวัติศาสตร์ : ยุคสมัยและอาณาจักรโบราณ วิธีการทางประวัติศาสตร์ มายาคติและการวิเคราะห์ข้อมูลตามปรากฏการณ์และหลักฐาน การเปรียบเทียบยุคสมัยและปรากฏการณ์ทางสังคม ฯลฯ
สาระศาสนา : การรวมกลุ่มตามความเชื่อและศรัทธา การหลอมรวมเป็นระเบียบ พิธีกรรม คำสอน และ การจัดระเบียบทางสังคม ประเภทของศาสนาและรูปแบบพิธีกรรม รวมถึง การเปรียบเทียบจากอดีตสู่ปัจจุบันทั้งในศาสนาและระหว่างศาสนาภายใต้สิ่งต่างๆเช่น รูปเคารพ คัมภีร์ ภาพถ่าย ฯลฯ
สาระภูมิศาสตร์ : เครื่องมือและระบบสารสนเทศ วิธีการทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพในแต่ละทวีปและในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย (ภูมิประเทศและภูมิอากาศ) ความแปรปรวนและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เครื่องมือ อนุสัญญา และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
 
จะอ่านทันหรือไม่ (?)
 
          อีกคำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงเป็นสิ่งที่มีการตั้งประเด็นมาโดยตลอดสำหรับการเตรียมความพร้อมในการสอบในรอบ 1 ปีคือ จะอ่านทันหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไรดีกับเนื้อหาที่ค่อนข้างมากและมีความซับซ้อนต่อประเด็นที่เกิดขึ้น โดยสิ่งที่นำมาใช้ต่อการตัดสินใจในการอ่านนั้นล้วนเป็นสิ่งที่สามารถนำมาต่อยอดกับเงื่อนไขที่มีอยู่ว่า สิ่งที่นำมาใช้ต่อการตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จากรากฐานและการวางระบบต่อความคิดต่างๆที่แต่ละสาระวิชาสามารถนำมาสะท้อนต่อการพัฒนาความรู้ได้อย่างไร
 
          แม้ในความเป็นจริง เนื้อหาและสิ่งที่เป็นพื้นฐานจะสามารถนำมาต่อยอดร่วมกันได้ภายใต้เงื่อนไขและบริบทของความรู้ที่มีอยู่ แต่สิ่งที่นำมาต่อยอดต่อความเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่นั้นต่างเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาร่วมกันจากบริบทและเนื้อหาของข้อสอบที่สามารถออกได้ทั้งในสิ่งที่เป็น “ตามชั้นเรียน” และ “นอกชั้นเรียน” โดยบางอย่างเป็นสิ่งที่สามารถต่อยอดและสามารถนำมาเชื่อมโยงต่อกันเพื่อให้เกิดความหมายและความซับซ้อนที่ไม่ใช่แค่การนำไปใช้และการอ่านให้รัดกุมต่อความชัดเจนในเนื้อหาที่ไม่ได้มีเพียงแค่ทฤษฎีหรือหลักการเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจถึงเนื้อใน รายละเอียด และ การนำไปใช้อย่างแท้จริงว่าในสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นและมีประโยชน์ต่อข้อสอบและโอกาสต่างๆที่ไม่ได้มีเพียงแค่การวิเคราะห์ แยกแยะ และ เปรียบเทียบตามปรารถนาและการคาดหวังของข้อสอบที่บางอย่างไม่แน่นอนได้เช่นกันเพราะในข้อเท็จจริงที่มีอยู่นั้นจะเป็นสิ่งที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อให้เกิดโอกาสและความเหมาะสมในข้อสอบที่จะมีแนวคำถามต่างๆมากมายที่พบเจอได้เช่น การต่อยอด การวิเคราะห์ การตีความ ฯลฯ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นถ้ามีการเตรียมความพร้อมและวางระบบให้มีประสิทธิภาพต่อการอ่านและทำความเข้าใจ การบริหารจัดการด้านความรู้และการอ่านให้รอบด้านย่อมเป็นสิ่งที่สามารถตอบโจทย์และอ่านได้ทันท่วงทีจนเกิดประโยชน์ของกันและกันอย่างแน่นอน
 
การเตรียมตัวให้มีประสิทธิภาพ 
 
          ในช่วงเวลาที่มีอยู่ (เกือบ 1 ปี) ที่ทุกคนสามารถเตรียมความพร้อมและวางแผนต่อชีวิตในการตัดสินใจเตรียมตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือจะเตรียมตัวอย่างเร่งรัดนั้นขึ้นกับความสามารถ เป้าหมาย และ โอกาส ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ว่า ในสิ่งที่นำมาใช้ต่อการตัดสินใจนั้นจะเป็นสิ่งที่มีผลอย่างไรต่อความน่าจะเป็นและความไม่แน่นอนในสิ่งที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเนื้อหา บริบทข้อสอบ และ สิ่งที่ถูกกล่าวถึงเสมอ
 
          ดังนั้นการรับมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ การรับมือภายใต้ความรู้และความเข้าใจที่ดีพอสำหรับการเตรียมพร้อมกับความเสี่ยงในเนื้อหาที่สามารถเจาะลึก วิเคราะห์ และ แยกแยะในสิ่งต่างๆที่ไม่ได้มีการปรับตัวในส่วนเนื้อหาและมีการวางระบบในเงื่อนไขในแต่ละเนื้อหา ซึ่งถ้าได้ติดตามการวิเคราะห์และการเปรียบเทียบที่ผ่านมาคงเห็นได้ว่า การเตรียมตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปภายใต้การเก็บเนื้อหา การเก็บรายละเอียด และ การวิพากษ์ต่อประเด็น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้เกิดโอกาสและประโยชน์สูงสุดต่อกันในการจับทิศทางของข้อสอบและเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยที่การทำความเข้าใจอย่างคู่ขนานประกอบกับการสร้างความรู้ที่นำไปสู่ภูมิต้านทานในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และ แยกแยะเพื่อให้คำตอบที่มีนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
 
          อีกอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้คือ การฝึกโจทย์ไปพร้อมๆกันในแต่ละเรื่อง หัวข้อ และ ลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกันเพราะในความเป็นจริงแล้วข้อสอบที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นสิ่งที่มีความคู่ขนานและมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมต่อโอกาส ความเป็นไปได้ และ ความซับซ้อน ของแต่ละสนามสอบที่ไม่ได้มีตัวตัดสินทีเดียวว่า สิ่งไหนเหมาะกับอะไร แต่ต้องเป็นสิ่งที่เข้าใจร่วมกันมากกว่า ในสิ่งที่จะเตรียมตัวและวิเคราะห์ต่อรายละเอียดนั้นจะเป็นสิ่งที่สามารถเตรียมพร้อมต่อสิ่งไหน ด้วยอะไร และ เหตุใด แล้วนำสิ่งนั้นมาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจและวิเคราะห์ต่อโอกาส ความเสี่ยง และ สถานการณ์ที่มีต่อกันเพื่อให้ข้อสอบนั้นสามารถตอบโจทย์และทำออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมที่สุด
 
          อย่างไรก็ตามในการเตรียมตัวสอบในวิชาสังคมศึกษาในช่วงเวลา 1 ปีนั้นแม้จะดูเหมือนนาน แต่จริงๆแล้วเร็วมาก เพราะด้วยเนื้อหาและลักษณะโจทย์ที่ปรับไปตามยุคสมัยคงเป็นสิ่งที่มีความท้าทายต่อทุกคนในการค้นหา ต่อยอด และ เชื่อมโยงให้เป็นเพื่อให้การทำข้อสอบของทุกคนสามารถทำได้เต็มที่และมีโอกาสต่ออนาคต คณะ/มหาวิทยาลัย ของทุกคน
 
วางแผนและฝึกฝนกันนะครับ
 
By P’Jun (พี่จูน)  ปพน จูน คิมูระ
คอร์สเรียน https://www.boostup.in.th/institute/tutor/77/course
 . 
พบเทคนิคต่าง ๆ อีกมากมายที่ http://bit.ly/BoostUpLine 
ติดตามโปรโมชั่นและคอร์สเรียนอื่นๆ ที่ https://www.boostup.in.th/
ติดตามเพจที่   https://facebook.com/boostuptutor/